วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ประวัตินักคณิตศาสตร์


แบลซ  ปัสกาล

แบลซ ปัสกาล (ฝรั่งเศสBlaise Pascal) เกิดเมื่อ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2166 (ค.ศ. 1623) ที่เมืองแกลร์มง (ปัจจุบันคือเมืองแกลร์มง-แฟร็องประเทศฝรั่งเศส เสียชีวิตเมื่อ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2205 ค.ศ. 1662 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
แบลซ ปัสกาล คือนักคณิตศาสตร์ นักฟิสิกส์ และนักปรัชญาผู้เคร่งครัดในศาสนา ปัสกาลเป็นเด็กที่มหัศจรรย์มีความรู้เหนือเด็กทั่ว ๆ ไปโดยได้ศึกษาเล่าเรียนจากพ่อของเขาเอง ปัสกาลจะตื่นทำงานแต่เช้าตรู่ท่ามกลางธรรมชาติโดยมักเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ที่ซึ่งมีส่วนสำคัญในการสร้างเครื่องคิดเลขและการศึกษาเกี่ยวกับของเหลว ทำให้เขาเข้าใจความหมายของความดันและสุญญากาศด้วยการอธิบายของเอวันเจลิสตา ตอร์รีเชลลี ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของกาลิเลโอ
ปัสกาลเป็นหนึ่งในนักคณิตศาสตร์ที่โด่งดังที่สุดในวงการคณิตศาสตร์ เขาสร้างสองสาขาวิชาใหม่ในการทำรายงาน เขาเขียนหนังสือที่สำคัญบนหัวข้อผู้ออกแบบเรขาคณิตเมื่ออายุเพียง 16 ปีและยังติดต่อกับปีแยร์ เดอ แฟร์มา ในปี พ.ศ. 2197 (ค.ศ. 1654) เกี่ยวกับทฤษฎีความน่าจะเป็น ความมั่นคง อิทธิพลของการพัฒนาของเศรษฐกิจสมัยใหม่และวิทยาศาสตร์สังคม ประสบการณ์อันน่ามหัศจรรย์ในปี พ.ศ. 2197 (ค.ศ. 1654) ปัสกาลออกจากวงการคณิตศาสตร์และฟิสิกส์โดยอุทิศตัวเพื่องานเขียนเกี่ยวกับปรัชญาและศาสนา งานของเขามีชื่อเสียงมากในช่วงเวลานั้นคือ แล็ทร์พรอแว็งซียาล (Lettres provinciales) และป็องเซ (Pensées) อย่างไรก็ตามเขาได้รับโรคร้ายเข้าสู่ร่างกาย และได้เสียชีวิตหลังจากงานวันเกิดครบรอบอายุ 39 ปีเพียงสองเดือน
ผลงานการค้นด้านฟิสิกส์ที่สำคัญ คือ การตั้งกฎของพาสคัล การประดิษฐ์บารอมิเตอร์ และเครื่องอัดไฮดรอลิก

ผลงาน
1.สามเหลี่ยมปาสกาล
ชุดของจำนวนทีในปัจจุบันเราเรียกว่า “สามเหลี่ยมปาสกาล” ได้รับการความสนใจในการศึกษาจากคณิตศาสตร์ทั้งในอินเดีย กรีก จีน ก่อนหน้านั้นนานแล้ว แต่ทว่า แบลส ปาสกาล (ค.ศ. 1623 – 1662) เป็นบุคคลแรกที่ค้นพบและแสดงให้เห็นความสำคัญ และแบบรูปทั้งหมดที่บรรจุอยู่ในสามเหลี่ยมปาสกาล นี่เองเป็นสาเหตุที่ทำให้เราเรียกมันว่า “สามเหลี่ยมปาสกาล” เพื่อให้เกียรติแก่ปาสกาลซึ่งเป็นค้นพบแบบรูปของมัน แต่เราก็ยังพบว่าในบางตำรา เรียกมันว่า “สามเหลี่ยมของชาวจีน” (Chinese’s Triangle) ด้วย เพื่อให้เกียรติแก่ชาวจีนโบราณที่ได้ค้นพบ และพัฒนาขึ้นในระยะแรก ชนชาติใดบ้างที่สนใจศึกษาเรื่องนี้???
ชนชาติที่ให้การศึกษาเรื่องนี้ก่อนที่ปาสกาลจะค้นพบความสวยงามทั้งหมดของสามเหลี่ยมนี้ในงานของเขาที่ชื่อ Traité du triangle arithmétique (1653) เริ่มเดิมทีเป็นแนวคิดเรื่องจำนวนเชิงวิธีจัดหมู่ (Combination Numbers) และจำนวนทวินาม (Binomial Numbers) และการศึกษาเรื่อง “จำนวนเชิงรูปภาพ” (Figurate numbers) ของนักคณิตศาสตร์ชาวกรีกด้วย


วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

บทความดีๆ




อาจารย์คนนึง เริ่มการสนทนาในชั้นเรียนด้วยการควักธนบัตรใบละ 1,000 บาท ..
ออกมาให้นักศึกษาดู แล้วถามว่า “มีใครอยากได้บ้างไหม” ทุกคนรีบยกมือ \(^o^”)a
อาจารย์ขยำธนบัตรนั้น “จบยับยู้ยี่” .. แล้วถามอีกครั้งว่า “มีใครยังอยากได้ธนบัตรใบนี้อีกหรือไม่” .. ทุกคนยังยกมือขึ้นเหมือนเดิม .. \(^_^)/
… อาจารย์ถามต่ออีกว่า “ถ้าสมมุติว่า ธนบัตรใบนี้ถูกทิ้งอยู่บนพื้น แล้วมีคนมาเหยียบย่ำจนสกปรก ยังจะมีใครอยากได้อีกหรือไม่” .. นักศึกษาทุกคน ก็ตอบว่ายังอยากได้ …..
อาจารย์จึงกล่าวสรุปว่า ..
“นั้นคือสิ่งมีค่า” ที่พวกเธอได้เรียนรู้ในวันนี้! .. ไม่ว่าจะเธอจะทำอะไรกับธนบัตรใบนี้ มันก็ยังคงจะมีราคา 1,000 บาท อยู่เสมอ .. ชีวิตคนเราก็เช่นเดียวกัน
บางครั้ง เราอาจจะถูกทอดทิ้ง ถูกใครต่อใคร ซ้ำเติม, เหยีบย่ำ, ถูกขยี้, ยับเยิน, ..
เพราะความผิดพลาดในการก้าวเดินของชีวิต จนทำให้เกิดความรู้สึกว่าตนเอง “ไร้ค่า”
แต่ รู้มั้ย?.. ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น เธอก็ยังมี “คุณค่าของความเป็นคน” ..
ไม่ว่าเธอจะสะอาดเอี่ยม หรือว่า ยับยู้ยี่ .. “ตัวเราก็ยังมีค่าที่สุดเสมอ” จำไว้ ^